ที่ตั้งชุมชนตำบลด่านศรีสุขเดิมเป็นป่าดงดิบ ชื่อ “ป่าดงทอน” มีผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ สัตว์ป่า อาหารจากป่ามากมาย ทำให้มีคนต่างถิ่นอพยพมาจับจองที่ดินในห้วงเวลาใกล้เคียง กลุ่มแรกมาจากพื้นที่ใกล้เคียงในปัจจุบันคือมาจากบ้าน กาหม ดอนไผ่ บ้านโพนทอง ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลาน เล่าว่าได้อพยพ หนีคดี หนีศัตรูมาหลบซ่อนอยู่ในป่ามาเป็นนักเลงและต่อมาได้จับจองพื้นที่ทำกิน และได้ก่อตั้งหมู่บ้านแรก คือ “บ้านน้ำทอน” อีกกลุ่มมาจากคนงานที่มารับจ้างตัดไม้เข้าโรงเลื่อยสินชัย ที่ทางรับบาลให้สัมปทาน เมื่อปี 2507 เมื่อสิ้นสุดการสัมปทานปี 2509 แล้วไม่กลับได้จับจองที่ทำกิน มีบางคนกลับไปแล้วชวนญาติพี่น้องมาจับจองที่ทำกิน โดยมาจาก อุดรธานี โคราช มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ปี 2510 ทางรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกสัมปทานและประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติพานพร้าว-แก้งไก่ ก็ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่เดิมในพื้นที่ มีการผลักดันให้ออกนอกพื้นที่ป่าสงวนดังกล่าว ภายหลังรัฐบาลประกาศเปิดเขตผ่อนปรนให้ผู้ที่อาศัยอยู่เดิม
ประกอบอาชีพและอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จึงเกิดการรวมตัวกันตั้งชุมชนและจัดตั้งเป็นหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน “ด่านศรีสุข” ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อภรรยาของคนในครอบครัวแรกที่อพยพเข้ามา มีชื่อเดิมว่า บ้านด่านอีสุข
“ตำบลด่านศรีสุข” เป็นตำบลที่แยกออกมาจาก ตำบลโพนทอง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายในระยะแรกมีหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านด่านศรีสุขบ้านด่านศรีสุข เดิมเป็นเขตสัมปทานของโรงงานสินชัยเพื่อตัดไม้ออกไปแปรรูปจึงทำให้เป็นป่าที่ไม่สมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.2507 มีสองสามีภรรยาเข้ามาทำมาหากินที่พื้นที่ดังกล่าวบริเวณ ดานหินกว้างใหญ่ ต่อมาภรรยาได้เสียชีวิตลงสามีเห็นเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าบ้านเดิมจึงได้ชักชวนญาติพี่น้อง เข้ามาทำมาหากินรวมเป็นชุมชนขนาดเล็กและได้ตั้งชื่อตามเอกลักษณ์ คือ ลานหินดานกว้างใหญ่ไม่มีที่ใดเหมือน เพื่อรำลึกถึงคนที่เข้ามาเป็นคนแรก จึงตั้งชื่อเป็น “บ้านด่านอีสุก” ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมามีการยกฐานะเป็นหมู่บ้านชาวบ้านและทางภาครัฐเห็นว่าเพื่อเป็นสิริมงคล และความผาสุกของชุมชน จึงได้เรียกว่า “บ้านด่านศรีสุข” ยกฐานะ เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดิมเป็นที่พักคนงานโรงเลื่อย (เดิม หมู่ 10ตำบลโพนทอง อำเภอศรีเชียงใหม่), หมู่ 2 บ้านน้ำทอนเข้ามาอยู่อาศัยเมื่อปี พ.ศ. 2507 ผู้คนส่วนใหญ่มาจากบ้านโพนทองและดอนไผ่ เมื่อมีหลายหลังคาเรือนก็มีการขอจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีชื่อว่าบ้านน้ำทอน เพราะมีน้ำทอนไหลผ่าน ยกฐานะปี พ.ศ.2492 ที่พักระหว่างเดินทางก่อนจะไปหมู่บ้านอื่นโดยมีผู้ใหญ่เฆม เป็นผู้ใหญ่บ้าน (เดิม หมู่ 8 ตำบลโพนทอง อำเภอศรีเชียงใหม่), หมู่ 3 บ้านศูนย์กลางลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านมีแต่ป่าไม้เต็มไปหมดและอุดมไปด้วยพืชหลากหลายชนิดทั้งไม้ใหญ่พืชสมุนไพรที่ใช้ในการทำยาหรือเป็นอาหารในการดำรงชีพ การสัญจรไปมาในสมัยนั้นลำบากมากๆยิ่งหน้าฝนยิ่งลำบาก ครอบครัวที่มาอยู่เป็นครอบครัวแรกคือ พ่อของนาย ก้อน พรมสมบัติ และคนกลุ่มเดียวกับที่อาศัยอยู่ดงทอนจากกาหม ดอนไผ่ ซึ่งเข้ามาอยู่ประมาณในปี พ.ศ.2509 เมื่อเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีกเรื่อยๆ มีการตั้งชื่อบ้านในตอนนั้นว่า บ้านดงกลาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 หน่วยทหารพัฒนา กรป.กลาง ได้เข้ามาตั้งหน่วยงานขึ้นในหมู่บ้าน นำโดยท่าน ผ.บ.สุเทพ บุญสนอง และได้มาทำการพัฒนาหมู่บ้านโดยการจัดทำแผนผังในชุมชนให้เป็นระเบียบแบบแผนมีถนน มีซอยต่างๆดูแล้ว เป็นระเบียบสวยงามมาก และเปลี่ยนชื่อใหม่ จากบ้านดงกลางเป็น บ้านศูนย์กลาง พ.ศ.2515 จึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีนาย เลื่อน โสพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก โดยขอตั้งบ้านกับสมัยก่อนถ้าจะตั้งบ้านต้องขอผู้ใหญ่เมฆ (เดิม 12 ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอศรีเชียงใหม่ หมู่ 8 ตำบลโพนทอง อำเภอศรีเชียงใหม่), หมู่ 4 บ้านบางกอกน้อย บ้านบางกอกน้อยเดิมทีเป็นยอดลำห้วย ซึ่งมีต้นมะกอกขึ้นตามลำห้วยเยอะ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็เลยตั้งชื่อตามลำห้วยที่มีต้นมะกอกว่าบ้านห้วยกอก เรียกว่าบ้านห้วยกอก ตามลักษณะ ดังกล่าว มาจากหลายหมู่บ้าน บางส่วนมาจากบ้านด่านศรีสุขหน้าโรงเรียน เข้ามาอาศัย พ.ศ. 2512 มีนายสุพรม อุปฮาด เป็น ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีห้วยมะนาวเป็นห้วยแบ่งบ้านด่านศรีสุขกับบ้านบางกอกน้อย (เดิม หมู่ 11 ตำบลโพนทอง อำเภอศรีเชียงใหม่), หมู่ 5 บ้านดอนขนุน มีชาวบ้านท่าสำราญ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย อพยมเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกประมาณ 20 ครอบครัว เมื่อพ.ศ. 2514 มีต้นขนุนเยอะมากเป็นป่าใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 6 เมตร จึงตั้งชื่อบ้านดอนขนุน ยกฐานะปี พ.ศ.2525 (เดิมเป็นคุ้มหนึ่งของบ้านห้วยกอกแยกออกเมื่อตั้งตำบลด่านศรีสุข อำเภอศรีเชียงใหม่), หมู่ 6 บ้านห้วยหินขาว เข้ามาอยู่อยู่ก่อนพ.ศ. 2519 เป็นคนงานโรงเรื่อย หลังยกเลิกสัมประทานพ.ศ. 2524 เริ่มมีประชาชนอพยพมาตั้งกระท่อมอาศัยเพิ่มขึ้น มีการถางป่าจับจองพื้นที่ทำกิน เดิมหมู่บ้านห้วยหินขาวมีชื่อหมู่บ้านเต่าไห้ โดยดูจากลักษณะของหินมีรูปลักษณ์คล้ายเต่า สันนิษฐานว่าการตั้งชื่อดังกล่าวมาจากลักษณะของเต่าที่ปีนหินขึ้นไปด้านบนของน้ำตกที่สูง 4 เมตร เลยร้องไห้ เพราะความยากลำบาก ต่อมาทางการจึงมีการบัญญัติให้จัดตั้งหมู่บ้าน นายณรงค์ ป้องพันธ์ นายอำเภอศรีเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้ดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านตามขั้นตอน โดยมีการเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “ห้วยหินขาว” ตั้งตามลักษณะสภาพท้องถิ่นเดิมที่มีภูมิประเทศเป็นห้วยที่มีหินขาวอยู่มากมาย พื้นที่หมู่บ้านมีลำห้วยที่มีสภาพการไหลเป็นน้ำตกหนึ่งแห่ง ลึก 7 เมตร สมัยแรกเริ่มชาวบ้านเรียกน้ำตกแห่งนี่ว่า น้ำตกไทรทอง ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนชื่อไปตามหมู่บ้านเป็น “ห้วยหินขาว” ปี พ.ศ. 2527 ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายทองนาค ชัยชนะ (เดิมเป็นคุ้มของบ้านด่านศรีสุข มี 2 คุ้ม คุ้มบ้านโนน กับคุ้มบ้านห้วยหินขาวรวมเป็นหมู่บ้าน), หมู่ 7 บ้านห้วยหมากพริกเข้ามาอาศัยจากสาวแลเดิมบ้านห้วยหมากพริก เป็นป่าเขา ลำเนาไพร เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตตำบลด่านศรีสุข มีความอุดมสมบูรณ์มา โดยเฉพาะที่บ้านห้วยหมากพริกนี้ จะมีต้นพริกป่ามากมาย เป็นต้นกิ่งเถาวัลย์ ซึ่งจะเป็นต้นพริกที่สูงพันไปกับต้นไม้ยืนต้น ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่มาก มีการตัดต้นไม้มาก ทำให้พริกป่าหมดไปด้วย ทางราชการได้จัดตั้งให้เป็นหมู่บ้าน ชื่อว่า บ้านห้วยหมากพริก พ.ศ. 2520 (เดิมเป็นคุ้มหนึ่งของบ้านด่านศรีสุขอำเภอโพธิ์ตาก), หมู่ 8 บ้านภูพนังม่วง หลวงพ่อสิทธิ์เล่าว่า เป็นหมู่บ้านตั้งใหม่ โดยมีพระอาจารย์นิพล มาตั้งวัดป่าภูพนังม่วง ในปี พ.ศ. 2527 (อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน) ระยะทางห่างจากหมู่บ้านภูพนังม่วง ประมาณ 500 เมตร มีราษฎรและญาติโยม จากอำเภอท่าบ่อ บ้านด่านศรีสุขและหมู่บ้านใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาและนับถือพระอาจารย์นิพล ได้มาปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ใกล้วัด ต่อมานายเสียง สัพโส ซื้อที่ดินต่อคนท่าบ่อฝั่งตรงข้ามหมู่บ้าน และมีราษฎรเข้ามาอาศัยมากขึ้น พระอาจารย์นิพล จึงได้เรียกราษฎรในหมู่บ้านมาประชุมหารือลงความเห็นว่าจะจัดที่ดินที่ว่างเปล่าสาธารณะประโยชน์บ้านด่านศรีสุข โดยจัดแบ่งให้ครอบครัวละ 2 งาน เพื่อปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535 กรมการปกครองเห็นว่าพอที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงได้อนุมัติให้ตั้งหมู่บ้านขึ้น โดยชื่อว่า “บ้านภูพนังม่วง” หมู่ 8 ขึ้น การปกครองอยู่กับตำบลด่านศรีสุข มูลเหตุที่ได้ชื่อว่า “บ้านภูพนังม่วง” จากคำบอกเล่าของคนแก่ในหมู่บ้านว่า มีน้ำซับและต้นไม้ คือต้นมะม่วงป่าต้นใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน (ปัจจุบันเป็นเขตวัดป่าภูพนังม่วง” ชาวบ้านในระแวกนั้นเรียกกันติดปากว่า ซับม่วง พระอาจารย์พล จึงได้ตั้งชื่อว่า “บ้านภูพนังม่วง” หมู่ 9 บ้านพรเจริญ เดิมเป็นคุ้มภูน้อย คุ้มหนึ่งของบ้านด่านศรีสุข หมู่ 10 ต.โพนทอง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย พ.ศ. 2543 ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพรเจริญ หมู่ 9 ต.ด่านศรีสุข กิ่งอ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ตอนนั้น อ.โพธิ์ตาก จึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นเป็นคนแรก คือ นายละมุล จันทะเนาว์ วันที่ 23 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543
ตำบลด่านศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดหนองคาย ระยะทางตามทางหลวง 211 และ 2020 ประมาณ 81 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอโพธิ์ตาก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธิ์ตาก 15 กิโลเมตร แยกออกมาจากอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยรวมเอาพื้นที่ของ 3 ตำบล เข้าด้วยกัน จัดเป็นกิ่งอำเภอโพธิ์ตาก ได้แก่ ตำบลโพธิ์ตาก ตำบลโพนทอง และตำบลด่านศรีสุข และจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ตำบลด่านศรีสุขแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านด่านศรีสุข หมู่ 2 บ้านน้ำทอน หมู่ 3 บ้านศูนย์กลาง หมู่ 4 บ้านบางกอกน้อย หมู่ 5 บ้านดอนขนุน หมู่ 6 บ้านห้วยหินขาว หมู่ 7 บ้านห้วยหมากพริก หมู่ 8 บ้านภูพนังม่วง หมู่ 9 บ้านพรเจริญ มีประชากรทั้งหมด 4,800 คน ตำบลด่านศรีสุขมีพื้นที่ 36.79 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ป่าสงวนและป่าชุมชนกว่าร้อยละ 60 ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีความลาดชัน เป็นพื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ลักษณะของดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินปนเศษหิน ดินสีน้ำตาลเหลืองหรือแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบหรือหินอัคนีเนื้อหยาบ พบบนสภาพพื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่/พืชสวน เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ไม้ผลต่างๆ (เงาะ ส้มโอ พุทธา ละมุด มังคุด ทุเรียน) ดอกกระเจียวหวาน ฯลฯ